add อาหารเสริม coq10
Intel ประกาศตัว CPU Intel Pentium ในปี 1993 ซึ่งเป็น generation ที่ 5 และถือเป็นครั้งแรกในการใช้ สถาปัตยกรรม
แบบ super-scalar ซึ่งก็ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นมาจาก
486 มาก โดยเฉพาะประสิทธิภาพในด้านการประมวลผลตัวเลข qq ขายอาหารเสริม pp
โดยมีการ Cache ภายใน หรือ L1 Cache เป็น 2 เท่าจากรุ่น 486 คือ
จาก 8K เป็น 16K โดยแบ่งการทำงานของ Cache
เป็น 2 ส่วน คือ เป็น Data มีขนาด 8K และ
Instruction Cache ขนาด 8K
ทรานซิสเตอร์ภายในเพิ่มเป็น 3.1 ล้านตัว
การประมวลผลเปลี่ยนเป็น 32 Bit แต่ในส่วนของ FPU
(Floating point unit) นั้นใช้ 64 Bit ดังนั้น Pin ตรง interface ที่ใช้ต้องรองรับการส่ง/รับข้อมูลขนาด
64 Bit ด้วยจึงต้องมีการเปลี่ยน Interfaceใหม่ โดยเรียก Interface นี้ว่า SPGA ซึ่งมีจำนวนช่องขาสำหรับใส่ pin ทั้งหมด 296 ขา หรือที่เรียกกันว่าเป็นแบบ Socket
7 //ขายอาหารเสริมราคาถูก//
ไฟเลี้ยงที่ใช้กับ CPU ก็เปลี่ยนมาเป็น 5
Volt ใน Pentium รุ่นแรกๆ ( Pentium 60
และ Pentium 66 ) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น 3.3
Volt เนื่องจากการใช้ไฟที่ 5 Volt นั้น
ทำให้เกิดความร้อนสูงมาก รวมถึงเปลี่ยนมาใช้ system bus ที่ 50
, 60 และ 66 MHz ด้วย ขายอาหารเสริม
CPU Intel Pentium นี้ ได้มีการพัฒนาปรับปรุงโดยแบ่งเป็นส่วนหลักๆ
ได้ดังนี้ ppขายอาหารเสริม coq10
สถาปัตยกรรมแบบ super – scalar
Data
bus เป็นแบบ 64 bit
แยก code และ data cache เพื่อลดเวลาในการทำงานให้เร็วขึ้น oo อาหารเสริม oo
Four-input
address-adders enables : segment-base +
base-register + scaled register + immediate offset in a single cycle ซึ่งทำให้ลดเวลาในการคำนวณได้ในภายใน
1 ไซเคิลเท่านั้น
Auto-repeating instructions
credit ขายอาหารเสริมราคาถูก
ข้อบกพร่องและปัญหา ของ Pentuim
รุ่นแรกๆ ของ Pentuim 60-100 MHz มีปัญหาในการคำนวณ ทศนิยม ทำให้เกิดความไม่ถูกต้องจากการดำเนินงานบางส่วน จุดบกพร่องนี้ค้นพบในปี 1994 โดยศาสตราจารย์ Thomas Nicely ที่วิทยาลัยเวอร์จิเนียและเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น ข้อผิดพลาด Pentium FDIV
โปรเซสเซอร์ Pentium P5 60 และ 66 MHz 0.8 ไมครอน ยังมีการสร้างความร้อนสูงอันเนื่องมาจากการใช้ไฟขนาด 5V เป็นที่รู้จักมักที่เรียกขานว่า "coffee warmers" P54C ใช้ 3.3V และมีนัยสำคัญ (ประมาณ 51%) ใช้พลังงานที่ต่ำกว่า P5 Pentiums ใช้ socket 4 ในขณะที่ P54C เริ่มต้นด้วย Socket 5 ก่อนที่จะย้ายไป Socket 7 หลังจากนั้นมาตั้งแต่ Pentium P54CS เป็นต้นได้เปลี่ยนไปใช้ Socket 7
add ขายอาหาารเสริมราคาส่ง coq10
Intel Pentuim Pro
Pentium Pro มีความสามารถในการกำหนดค่าได้ทั้งแบบ
dual และ quad
processor มันถูกสร้างโดยออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่เรียกว่า
Socket 8 . Pentium
Pro มีชุด Pipeline 3 ชุด ซึ่งมีมากกว่า Pentium
ซึ่งมีเพียง 2 ชุด
มีการแยกขั้นตอนการทำงานออกเป็นถึง 14 ขั้นตอน
และยังสนับสนุนการทำงานแบบคาดเดาคำสั่งที่จะต้องเรียกใช้ล่วงหน้าได้ ซึ่งเรียกว่า Speculative
Execution ซึ่งทาง Intel เรียกการทำงานแบนี้ว่าเป็น
Dynamic Execution
ขนาดของ
Cache level 1 ยังคงมีเพียง 16K เท่าๆกับ Pentium แต่ Cache level 2 มีขนาดใหญ่กว่าและมีให้เลือกหลายรุ่น คือรุ่นที่มี Cache level 2 ขนาด 256KB, 512KB และ 1MB
ซี่งทำงานด้วยความเร็วเท่ากันกับ
CPU เพราะอยู่บน Silicon เดียวกัน
Pentium
Pro ถูกนำมาใช้เป็น Server และประสบความสำเร็จมากกว่าที่จะใช้เป็น
PC เนื่องจากว่ามันสนับสนุนการทำงานแบบ SMP หรือ Symmetric Multi Processing ซึ่งทำให้ใช้ CPU
ได้หลายตัว บน Mainboard เดียวกัน
ทำให้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการทำงาน และยังสนับสนุนเรื่องของ Fault Tolerant
ด้วย นั่นคือเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดการทำงานหรือเกิดการเสียหายตัวที่เหลือก็ยังสามารถทำงานแทนได้
และยังช่วยสนับสนุนการประมวลผลแบบขนานอีกด้วย
Intel Pentium II
กลางปี 1996 Intel ก็ได้ส่งตัว CPU ในตระกูล x86 ตัวใหม่ของตนออกสู่ท้องตลาด นั่นก็คือ Intel
Pentium II ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนPentium Proที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่งนั่นเอง เพราะโดยสถาปัตยกรรมทั่วๆไปแล้ว
ก็ไม่ต่างจาก Pentium Pro เลย
เพียงแต่มีการปรับแต่งบางอย่างให้มีความสมดุลย์ และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
เช่นมีการใส่คำสั่ง MMX เข้าไป และมีการปรับแต่ง Interface
เสียใหม่ โดยจากเดิมนั้นใช้ Interface แบบ Socket ก็หันมาใช้ Interface เป็นแบบ Slot 1 แทน และเปลี่ยน Package ของ CPU จากที่เป็น PGA ( Pin-Grid Array ) มาเป็น SECC ( Single Edge Contact Cartridge ) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับกล่องวีดีโอเทป
โดยทำการย้ายตำแหน่งของ
Cache level
2 ออกมาไว้ต่างหาก ถึงแม้ว่าจะอยู่ใน SECC เหมือนกับ
CPU แต่ก็ไม่ได้บรรจุไว้บน Chip ของ CPU
เหมือนกับ Pentium
Pro และทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็ว
CPU แต่ได้เพิ่มขนาดของ
Cache level 1 เป็น 32K ซึ่งเป็น 2
เท่าของ Intel Pentium Pro
CPU Intel Pentium II มี 2 รุ่น รุ่นแรกใช้เทคโนโลยีขนาด 0.35 micron ใช้ไฟเลี้ยงที่ CPU 2.8 Volt มี Code Name ว่า “Klamath“ ซึ่ง CPU รุ่นนี้มีความร้อนสูง ทาง Intel จึงได้ทำการลดขนาดของแผ่นเวเฟอร์ลง หันมาใช้เป็นขนาด 0.25 micron และใช้ไฟเลี้ยง CPU 2.0 Volt แทน โดยรุ่นนี้จะมี Code Name ว่า “Deschute”
สถาปัตยกรรมของ Intel Pentium II แบ่งได้เป็นดังนี้
ใช้เทคโนโลยี
MMX ซึ่งสามารถทำงานได้ทีละ 2 ชุดคำสั่ง MMX ได้พร้อมๆกัน
สถาปัตยกรรมแบบ
Dual
Independent Bus ( DIB ) โดยแบ่งเป็น System Bus และ Cache Bus เพื่อเพิ่มความกว้างของเส้นทางข้อมูล
และ เพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
ความเร็วบัสของระบบ
( FSB )
เพิ่มจากเดิม 66 MHz เป็น 100 MHz
Cache level 1 มีขนาด 32 K แบ่งเป็น data และ Instruction อย่างละ 16K
Cache level 2 อยู่ใน SECC เดียวกัน ขนาด 512 K ทำงานที่ความเร็วเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็ว CPU
รุ่น 350, 400 และ 450 MHz นั้น
สามารถอ้างตำแหน่งของหน่วยความจำได้มากถึง 4 GB
สามารถใช้ร่วมกันเป็นDual Processorได้โดยจะสามารถอ้างหน่วยความจำหลักได้ถึง 64GB
Intel
Pentium II Xeon
Processor ตัวแรกของ Xeon ก็ คือ Pentium II Xeon ภายใต้ชื่อโค๊ตว่า “Drake” ถูกพัฒนาเพื่อเน้นให้ใช้งานสำหรับ Server โดยปล่อยออกมาในปี 1998 แทนที่ Pentuim Pro โดย Cache L2 ได้ทำการ implement ด้วย SRAM 512 KB ซึ่งจำนวนของ SRAM จะขึ้นอยุ่กับผลรวมทั้งหมดของ cache Cache 512 KB ต้องใช้ 1 SRAM , 1MB ต้องใช้ 2 SRAMs , 2MB ต้องใช้ 4 SRAMs บนทั้ง 2 ด้านของตัวบอร์ด นี่เป็นเหตุผลให้ บอร์ดต้องมี ขนาดที่ใหญ่ขึ้น
แม้ว่าสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป
จะคล้ายกับ Pentium
II แต่สิ่งที่แตกต่างออกไป มีดังนี้
ใช้ Interface แบบ Slot-2
ซึ่งไม่สามารถใช้กับ Slot-1 ได้
ใช้งานกับเมนบอร์ดที่ใช้
chipset
440GX ( AGP set ) หรือ 440NX ( PCI set )
หน่วยความจำแคช
L2 มีทั้งขนาด 450MHz 512 KB และ
400MHz 512 KB หรือ 1 MB
สนับสนุนการทำงานโปรเซสเซอร์ได้สูงสุดถึง
8 ตัว
เพิ่มหน่วยความจำได้สูงถึง
64 GB
PSE36
สนับสนุนหน่วยความจำให้เป็นขนาด 36 บิตที่ทำให้ระบบปฏิบัติการใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่กว่า
4 กิกะไบต์ได้
สนับสนุนการทำคลัสเตอร์
หรือความสามารถในการจัดระบบเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ โปรเซสเซอร์ 4
ตัวหลายระบบเป็นส่วนเดียวกันได้
มีระบบช่วยตรวจจับความร้อน
โดย Diode
ที่อยู่บน PCB จะช่วยตรวจจับอุณหภูมิ และ
สามารถหยุดการทำงาน หากว่าอุณหภูมิสูงเกินไปได้
มีระบบตรวจสอบ
และ แก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล (ECC : Error Correction Code)
มีระบบตรวจสอบการทำงานแบบซ้ำซ้อน
(FRC :
Functional Redundancy Checking)
Intel Pentium III
Pentuim
III ออกมาในปี 1999 โดยองค์ประกอบส่วนต่างๆ ก็เหมือนกับ Pentuim II แต่ที่เพิ่มเติมเข้ามา
คือ ชุดคำสั่ง SSE (Streaming SIMD Extension) เพื่อเร่งความเร็วในการคำนวณ floating
point และการคำควณแบบขนาน
สำหรับเร่ง 3D-graphics และงาน
images
Pentium III มีข้อดีคือ
สามารถใช้ได้ไม่ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่สำหรับ CPU ตัวใหม่นี้
สี่งที่ต้องการคือ BIOS รุ่นล่าสุดที่ถูกจัดเตรียมโดยผู้ผลิตเมนบอร์ดควรจะรู้จัก
CPU ตัวใหม่นี้และตอบสนองต่อ microcode โปรเซสเซอร์ตัวใหม่เหมือนโปรเซสเซอร์ Pentium II ทำงานที่ความเร็ว
100 MHz FSB และเหมือนเช่นที่ผ่านๆมา
มันถูกล็อกตัวคูณสัญญาณนาฬิกาทำให้ในการ overclock ได้เพียงการปรับเพิ่ม
FSB
Intel Pentium III Xeon
สถาปัตยกรรมหลัก ก็ยังคงพื้นฐานเดิมของ Pentium II Xeon แต่ความสามารถใหม่ที่เพิ่มมาคือ ชุดคำสั่ง SSE (Streaming SIMD Extension) ที่ช่วยให้สามารถแสดงข้อมูลสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเสริมให้แอพพลิเคชั่นประเภท Streaming Media และแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้พื้นที่ในหน่วยความจำสูงๆ สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น
Pentium
III Xeon สามารถ ทำงานร่วมกันกับแพลตฟอร์มของเวิร์กสเตชั่น
และเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Pentium II โพรเซสเซอร์ได้
และเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการต่างๆ ทั้งบนไมโครซอฟต์ Windows NT หรือระบบ UNIX ได้ มีขนาดของ Cache ระดับ 2 ให้เลือกได้หลายแบบ กล่าวคือ รุ่น 500
MHz นั้นมี ขนาดของ Cache ระดับ 2 ให้เลือกถึง 3 รุ่น คือ 512 KB, 1 MB หรือ 2 MB และแบบความจุ 512 KB สำหรับรุ่น 550 MHz และ ยังคงความสามารถต่างๆ
ที่มีใน Pentium II Xeon เดิม เช่น ECC, SMB และ FRC ซึ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับ WorkStation
หรือ Server
สถาปัตยกรรมของ Celeron ตระกูล Pentium
II
เซลเลอรอนเป็นซีพียูตระกูลเพนเทียม
II ของอินเทล
กล่าวได้ว่าเป็นเพนเทียม II ที่ไม่มีแคชระดับสอง
ซึ่งเพนเทียม II ที่มีโค๊ดว่า คลาแมธ นั้นมีแคชระดับสอง 256/512
กิโลไบต์ เซลเลอรอนมีความเร็วต่ำสุด 266 MHz มีทรานซิสเตอร์
7.5 ล้านตัว และขนาดของทรานซิสเตอร์ 0.25 ไมครอน ซึ่งถือเป็นขนาดเล็กลง ใช้ไฟน้อยลง และความร้อนขณะประมวลผลน้อย
รุ่นแรกออกแบบเพื่อใช้กัน External Bus Speed 66 MHz เหมือนคลาแมธ
ตัวซีพียูเองยังใช้เทคโนโลยี SEPP (Single Edge Cartridge Processor
Package) เช่นเดียวกัน ไม่ได้ย้อนกลับมาใช้ PGA (Pin Grid
Array) เหมือน Socket 7 ดูเหมือนว่าจะป็นเจตนาของอินเทลที่พยายามสร้างความแตกต่างให้กับตัวผลิตภัณฑ์อยู่ไม่น้อย
ในขณะเดียวกันก็สร้างมาตรฐานของตัวเองอยู่ในตัว เพราะเซลเลอรอนใช้กับเมนบอร์ด slot
1 ที่ออกแบบสำหรับเพนเทียม II ได้
ดูเหมือนว่าเซลเลอรอนถูกถือเป็นซีพียูที่ออกมาเพื่อรักษาตลาดระดับล่าง
หรือเพื่อมาแข่งกับ AMD-K6 300 MHz โดยตรง โดยทางเทคโลยีแล้วอินเทลยังแบ่งซีพียูตระกูลเซลเลอรอนออกเป็นอีกสองรุ่นย่อย
คือ โควินตัน (Covington) และ เมนโดซิโน (Mendocino) ทั้งสองรุ่นนั้น เป็นซีพียูที่ใช้เทคโนโลยี 0.25 ไมครอนเหมือนกัน
รุ่นที่ผมกล่าวถึงคือ โควินตัน (Covington) ซึ่งเป็นเซลเลอรอนที่ออกวางตลาดก่อน
และผมนำมาทดสอบครั้งนี้ ความแตกต่างของทั้งคือ โควินตัน (Covington) ออกมาก่อน และเมนโดซิโน (Mendocino) จะตามมา
พร้อมกับ แคชระดับสองขนาด 128 กิโลไบต์ และความเร็วเริ่มต้น 300
MHz
ประสิทธิภาพของเซลเลอรอนนั้นเทียบไม่ได้กับคลาแมธ
เซลเลอรอนความเร็ว 266 MHz เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูพบว่าต่ำกว่าคลาแมธ
มาก โดยคลาแมธ 233 MHz มีประสิทธิภาพดีกว่า 25 - 30% ถึงแม้ในทางเทคโนโลยีแล้วจะถือว่าเซลเลอรอนใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับคลาแมธและมีบางประการ
เช่นในเรื่องของ Branch Prediction หรือ Piplined FPU
แต่ผลการทดสอบเช่น นั้นกลับเป็นการพิสูจน์ว่ายิ่งซีพียูความเร็วสูงเท่าไร
แคชระดับสองยิ่งต้องออกแบบให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น
และมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาใกล้เคียงกับซีพียู มิฉะนั้นผลจะออกมาใกล้เคียงกับเซลเรอรอน
ที่เมื่อทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับ AMD K6-266 แล้วยังปรากฎว่าให้คะแนะต่ำกว่า
AMD-K6 อีกเล็กน้อย
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของซีพียูแล้วพบว่าเซลเลอรอนเหมาะสมกับ
Application ที่ต้องการประสิทธิภาพเกี่ยวกับ
FPU (หน่วยประมวลผลเชิงทศนิยม) มากกว่า เช่น จำพวกเกมส์ แต่ Application
ที่ต้องการประสิทธิภาพของแคชระดับสอง เช่น ซอฟต์แวร์ธุรกิจ จำพวก Microsoft
Office, Lotus Smartsuite เซลเลอรอนจะให้ประสิทธิภาพต่ำกว่าเมื่อเทียบกับซีพียูในระดับความเร็วเท่ากัน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเกี่ยวกับราคาแล้ว
เซลเลอรอนก็เป็นตัวที่น่าสนใจสำหรับการนำไปใช้งานในธุรกิจไม่น้อย
โดยเฉพาะในเครื่องที่เป็นเวิร์คสเตชั่น
นอกจากนี้เซลเลอรอนยังเหมาะกับวินโดวส์
95 มากกว่า
วินโดวส์เอ็นที 4.0จากแหล่งข้อมูลและการทดสอบหลายๆ แห่ง
ปรากฎว่าเมื่อรันวินโดวส์เอ็นทีบนเครื่องที่ใช้เซลเลอรอน
จะให้ประสิทธิภาพไม่ดีนักแต่..ประสิทธิภาพอย่างเดียวไม่เพียงพอ คงต้องนึงถึงราคาและความสอดคล้องกับระบบทั้งหมด
สถาปัตยกรรมของ Celeron
ตระกูล Pentium III
รูปที่
1 สถาปัตยกรรมภายในของ
Celeron ตัวใหม่
|
ในช่วงปลายของซีพียูตระกูล
Pentium III (รุ่น 1-1.1
GHz) ทาง Intel เริ่มเห็นว่าช่องว่างในการเพิ่มความถี่ในการทำงานของ
Pentium III นั้นใกล้ถึงขอบเขตของมันแล้ว ประกอบกับคู่แข่งที่เริ่มมาแรงอย่างซีพียูตระกูล
Atlon ของ AMD ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้มากขึ้น
พวกเขาจึงผลักดันซีพียูในตระกูล Pentium 4 ให้ก้าวเข้ามาแทนซีพียูตระกูล
Pentium III ด้วยการเลือกสถาปัตยกรรมที่เอื้อให้มีการทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูง
กว่าเดิมมากและรองรับการเพิ่มความถี่ในอนาคต แม้ว่าจะประสบปัญหาบ้างในช่วงแรกแต่พวกเขาก็ค่อยๆ
พัฒนาสถาปัตยกรรมของ Pentium 4 ให้ดีขึ้นจนกลับมาเป็นผู้นำในตลาดซีพียูสมรรถนะสูงอีกครั้งในช่วงต้นปีนี้
ทาง Intel ได้ถ่ายทอดคุณสมบัติต่างๆ ใน Pentium 4 มาให้กับสถาปัตยกรรมของ Celeron 2 กิกะเฮิรตซ์
ดังนี้
ความถี่ FSB 100 เมกะเฮิรตซ์ quad-pumped (เทียบเท่ากับ 400 เมกะเฮิรตซ์) ซึ่งให้แบนด์วิดธ์ในการติดต่อกับหน่วยความจำสูงถึง 3.2
GB/s
ทำงานที่ความถี่ 1.7
กิกะเฮิรตซ์, 1.8 กิกะเฮิรตซ์
(ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผลิต 0.18 ไมครอน) และ 2.0 กิกะเฮิรตซ์ (0.13 ไมครอน)
ใช้อินเทอร์เฟซแบบซ็อกเก็ต mPGA
478 ขา
หน่วยความจำแคชระดับที่สอง (L2
cache) ขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ความถี่เดียวกับซีพียู
Instruction Trace Cache
Rapid Execution Engine
หน่วยประมวลผลชุดคำสั่ง SSE2
เปรียบเทียบ Celeron
แต่ละรุ่น
หลังจากนั้นยุคของ core
Coppermine ก็เริ่มต้นขึ้นที่ความถี่ 533 เมกะเฮิรตซ์
และก็เป็นยุคที่อยู่ในตลาดเป็นเวลานาน ทาง Intel ยึดถือ core
Coppermine นี้จนกระทั่งถึงรุ่น 1100 เมกะเฮิรตซ์
โดยปล่อยซีพียู Celeron ที่ใช้ core นี้ออกมาสู่ตลาดมากถึง
14 รุ่นและในยุคนี้พวกเขาก็ทำให้ผู้ใช้สับสนอีกครั้งเพราะมีการปรับเปลี่ยนความ
ถี่ FSB จาก 66 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 100
เมกะเฮิรตซ์ ซีพียูในตระกูล
Celeron นั้นอยู่ในตลาดมานานและมีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติภายในมาหลายครั้งซึ่งมีผล
ทำให้ผู้ใช้สับสนในการเลือกไม่น้อย เริ่มจากซีพียูยุคแรกในตระกูล
Celeron(Covington) ซึ่งทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกา 266 และ 300 เมกะเฮิรตซ์
นั้นไม่มีหน่วยความจำแคชระดับที่สอง (L2 cache) แต่ซีพียูในตระกูล
Celeron ยุคถัดมาที่ใช้ core Mendocino ที่มีหน่วยความจำแคชระดับที่สองเพิ่มเข้ามานั้นก็มีรุ่นที่ทำงานที่ความถี่
300 เมกะเฮิรตซ์ ด้วยเช่นกัน ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็มีการเปลี่ยนอินเทอร์เฟซแบบ
Slot 1 มาเป็นซ็อกเก็ต 370 ด้วยทำให้เวลาซื้อซีพียูต้องระบุรุ่นกันวุ่นวายมาก
และ ในช่วงเวลานั้นเช่นกันยุคทองของการ overclock ก็เกิดขึ้นเราสามารถ
overclock ซีพียูเหล่านี้บางรุ่นได้มากถึง 50 % โดยเราสามารถ overclock ให้ซีพียู Celeron
300 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานที่ FSB 100 x 4.5 แทนการทำงานที่
FSB 66 x 4.5 ที่มัน ถูกออกแบบมา ซึ่งมีผลทำให้เจ้า Celeron ถูก overclock ไปทำงานที่ความถี่สูงถึง 450 เมกะเฮิรตซ์
core Tualatin ช่วยชุบชีวิตใหม่ใหม่กับสถาปัตยกรรม
Pentium III อีกครั้ง
ด้วยหน่วยความจำแคชระดับที่สองที่มากถึง 512 KB และการปรับปรุงคุณสมบัติภายในหลายๆ
อย่างช่วยให้ core Tualatin สามารถต่อกรกับซีพียู Athlon
ได้อย่างสูสี ซีพียูในตระกูล Celeron ก็ได้รับประโยชน์จาก
core นี้เช่นกันแม้ว่าจะโดนลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับที่สองลงเหลือแค่
128 KB และจำกัดความถี่ FSB ไว้ที่ 100
เมกะเฮิรตซ์ แทนที่จะเป็น 133 เมกะเฮิรตซ์ เหมือนในซีพียู
Pentium III จนกระทั่งเมื่อเดือนพฤษภาคมปีนี้เองการเปลี่ยน
core ของ Celeron ก็เกิดขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ทาง
Intel ได้วางรากฐานของซีพียู Pentium 4 ไว้มั่นคงดีแล้วและพวกเขาก็ต้องการมุ่งเน้นการพัฒนาไปที่สถาปัตยกรรมของ
Pentium 4 เพียงอย่างเดียวเพราะรู้ดี (และมั่นใจแล้ว) ว่าหนทางสู่ชัยชนะอย่างถาวรคือการเพิ่มความถี่ในการทำงานให้สูงที่สุดเท่า
ที่จะทำได้จึงปล่อย Celeron ที่ใช้ core Willamette ซึ่งเป็น core ของ Pentium 4 ยุคแรกออกมา
แม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้ core Northwood แต่หากเทียบกันจริงๆ
แล้วเจ้า Celeron 2 กิกะเฮิรตซ์
นี้ก็มีคุณสมบัติไม่ต่างไปจากรุ่น 1.7 กิกะเฮิรตซ์ และ 1.8
กิกะเฮิรตซ์ เลยเพราะต่างกันที่เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 0.13
ไมครอนเท่านั้น ซึ่งก็ส่งผลให้ลดระดับแรงดันไฟฟ้าในการทำงานลงมาอยู่ที่
1.5 V และซีพียูเย็นขึ้น
แม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้ core Northwood และทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงถึง 2 กิกะเฮิรตซ์ แลัวก็ตามแต่เจ้า Celeron ตัวใหม่ก็ยังคงตามหลังซีพียู Pentium 4 ในแทบจะทุกการทดสอบ ประสิทธิภาพที่ต่างกันนี้เป็นผลมาจากการลดหน่วยความจำแคชระดับที่สองจาก 512 KB ลงเหลือแค่ 128 KB และจำกัดความเร็ว FSB ไว้ที่ 400 เมกะเฮิรตซ์ จาก 533 เมกะเฮิรตซ์ ในสถาปัตยกรรมของ Pentium 4 สิ่งเหล่านี้เหนี่ยวรั้งประสิทธิภาพของ Celeron 2 กิกะเฮิรตซ์ ไว้จนถือว่าอยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับซีพียู Pentium 4